มาตรการบังคับทางอาญาอื่น ๆ ของ มาตรการบังคับทางอาญา

มาตรการบังคับทางอาญาอื่น ๆ เป็นมาตรการที่กำหนดไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะเรื่อง เช่น การยึดและทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท การให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เป็นต้น

อนึ่ง ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2500 ศาสตราจารย์ประเทือง กีรบุตร อธิบดีกรมอัยการ ได้จัดตั้งโครงการ "การคุมประพฤติชั้นพนักงานอัยการ" ขึ้น โดยเสนอว่า แม้พนักงานอัยการจะมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาได้เลยแม้ผู้ต้องหาได้กระทำความผิดและคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอจะฟ้องได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ควรมีมาตรการเสริมก่อนการสั่งไม่ฟ้องเช่นว่านั้นด้วย เช่น ในกรณีที่พนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น ควรชะลอการสั่งไม่ฟ้องไปก่อน และจัดให้มีการคุมประพฤติผู้ต้องหา หากว่าการคุมประพฤติได้ผลดีจึงค่อยสั่งไม่ฟ้อง เป็นต้น ทำให้โครงการนี้ได้รับการขนานนามว่า "โครงการชะลอการฟ้อง"[5] อย่างไรก็ดี โครงการคุมประพฤติชั้นพนักงานอัยการไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เพราะได้รับการคัดค้านและต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายตุลาการ[6]

ใกล้เคียง

มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร มาตรการรัดเข็มขัดในประเทศโรมาเนีย คริสต์ทศวรรษ 1980 มาตรการบังคับทางอาญา มาตรการรัดเข็มขัด มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ มาตรการบังคับใช้สิทธิ มาตรการป้องกันโรค มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตรวิทยา